×
ค้นหา
EveryThaiStudent.com
ค้นหาเรื่องพระเจ้าและคำถามในชีวิต
รู้จักพระเจ้า

เหตุผลว่าทำไม คุณจึงสามารถเชื่อถือพระคัมภีร์ได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์เล่มปัจจุบันนั้นเชื่อถือได้?

WhatsApp Share Facebook Share Twitter Share Share by Email More PDF

พระคัมภีร์ถูกอ้างว่าเป็นการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์ของพระเจ้า ถึงมวลมนุษยชาติ มีผู้คนทั้งชายและหญิงหลายพันล้านคนทั่วโลก ที่ยอมให้คำแนะนำสั่งสอนต่างๆที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์เป็นรากฐาน แห่งชีวิตของพวกเขา มีคนเป็นล้านๆคนที่ยอมตายเพื่อสิ่งนี้ด้วย

คนที่มีสติปัญญาสามารถเชื่อพระคัมภีร์ได้ไหม?

คำตอบคือ ได้ พระคัมภีร์ไม่ใช่หนังสือประเภทนิทาน พระคัมภีร์ไม่ เหมือนกับหนังสือที่เขียนขึ้นเกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณทั่วไปที่เรา ต้องมีแต่ความเชื่อแบบหลับหูหลับตา มีหลักฐานประเภทต่างๆ หลายชิ้นทีเดียวที่สนับสนุนความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ของ พระคัมภีร์และการกล่าวอ้างที่ว่าพระคัมภีร์มีสิทธิอำนาจจากพระเจ้า หลักฐานเหล่านั้นได้แก่

  • ประวัติศาสตร์ยุคโบราณ สนับสนุนความถูกต้องของพระคัมภีร์ว่าเป็นการบันทึกเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์
  • พระกิตติคุณทั้งสี่เล่ม ทำให้การบันทึกเรื่องราวชีวิตของพระเยซูคริสต์มีความน่าเชื่อถือ
  • โบราณคดี ให้การรับรองเรื่องราวในพระคัมภีร์
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านงานเขียน ยืนยันว่า หนังสือต่างๆที่ถูกรวมรวมไว้ในพระคัมภีร์เล่มปัจจุบันไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงในเนื้อหา นับตั้งแต่ที่หนังสือเหล่านั้นถูกเขียนขึ้นครั้งแรก

ประวัติศาสตร์ยุคโบราณเห็นด้วยกันกับพระคัมภีร์หรือไม่?

ถ้าหากว่าพระคัมภีร์คือข้อความจากพระเจ้าถึงเรา เราก็ควรจะหวัง ได้ว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ในนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในความเป็นจริงมันก็เป็นเช่นนั้น

ตัวอย่างเช่น พระคัมภีร์บอกให้เราทราบว่า พระเยซูชาวนาซาเร็ธ ได้ทรงกระทำการอัศจรรย์หลายอย่าง และถูกตัดสินให้ได้รับโทษ โดยทางการโรม และเป็นขึ้นมาจากความตาย มีนักประวัติศาสตร์ ยุคโบราณหลายคนทีเดียวที่ยืนยันเรื่องราวของพระเยซูและพวก ผู้ติดตามของพระองค์ตามที่ถูกบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ การยืนยันของพวกเขามีดังต่อไปนี้:

คอนเนลิอัส ทาซิทัส (ค.ศ.55-120) นักประวัติศาสตร์ในสมัยศตวรรษแรกของอาณาจักรโรมผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ ที่มีความเที่ยงตรงมากที่สุดคนหนึ่งของโลกยุคบราณ1 ข้อเขียนสั้นๆจากทาซิทัสบอกกับเราว่า จักรพรรดิของโรมคือ นีโร “ได้ทำการทรมานที่ทารุณโหดร้ายที่สุดกับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง...ซึ่งเรียกว่าพวกคริสเตียน...คริตุส(คริสต์) ซึ่งชื่อของพวกคริสเตียนมาจากชื่อของคนๆนี้นั่นเอง ต้องทนทุกข์จากการลงโทษอย่างแสนสาหัส ในระหว่างการครอบครองของไทบีเรียส ในมือของผู้แทนด้านการเงินคนหนึ่งของเราคือ ปอนทัส ปีลาต...”2

ฟลาวิอัส โจซีฟัส นักประวัติศาสตร์ชาวยิว (ค.ศ.38-100+) เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเยซูใน Jewish Antiquities (เรื่องราวชาวยิวสมัยโบราณ) จากงานเขียนของโจซีฟัสบอกไว้ดังนี้ว่า “เราได้เรียนรู้ว่า พระเยซูเป็นปราชญ์ผู้ซึ่งทำกิจต่างๆหลายประการที่น่าประหลาดใจ ทรงสั่งสอนคนมากมาย นำคนทั้งยิวและกรีกให้มาติดตามพระองค์ ทรงถูกเรียกว่าเป็นองค์เมสสิยาห์ (ผู้รับการเจิมไว้ของพระเจ้า-ผู้แปล) ถูกกล่าวหาโดยพวกผู้นำทางศาสนาชาวยิว และได้รับการตัดสินให้ถูกตรึงที่กางเขนโดยปีลาต และผู้คนถือว่าทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย”3

ซูทอนนิอัส หรือพลินี่ผู้หนุ่มแน่น และธอลลัส ก็ได้เขียนเกี่ยวกับการนมัสการของคริสเตียนและการข่มเหงที่เกิดขึ้นกับพวกเขา ซึ่งก็สอดคล้องกับสิ่งที่ได้รับการบันทึกไว้ในพระคัมภีร์

แม้แต่ในทัลมุด ซึ่งเป็นคัมภีร์ของชาวยิว เรารู้ได้ว่า ไม่ได้มีความโอนเอียงเข้าข้างพระเยซูแน่ๆ ก็เห็นพ้องในเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระเยซู จากคัมภีร์ทัลมุด กล่าวไว้อย่างนี้ว่า “เราได้เรียนรู้ว่า พระเยซูนั้นเกิดนอกสมรส ได้รวบรวมพวกสาวก ได้กล่าวข้ออ้างเกี่ยวกับตัวของเขาเองที่หมิ่นประมาทพระเจ้าหลายประการ และกระทำการอัศจรรย์ แต่การอัศจรรย์เหล่านั้นเป็นลักษณะการกระทำของพวกพ่อมดหมอผีมากกว่าที่จะเป็นมาจากพระเจ้า”4

ข้อมูลเหล่านี้น่าสนใจยิ่งทีเดียวเมื่อพิจารณาถึงว่า นักประวัติศาสตร์ยุคโบราณส่วนใหญ่จะพูดถึงผู้ที่มีอิทธิพลทางการเมืองและทางการทหารเท่านั้น ไม่น่าจะมาให้ความสนใจในรับบี(อาจารย์ทางศาสนายิว-ผู้แปล)คนหนึ่งที่มาจากเมืองไกลเมืองหนึ่งของอาณาจักรโรมัน เช่นพระเยซูนี้ได้ นักประวัติศาสตร์ยุคโบราณ (ยิว กรีกและโรม) ล้วนแล้วแต่ ยืนยันถึงเหตุการณ์สำคัญๆซึ่งถูกบันทึกเอาไว้ในพระคัมภีร์ใหม่ทั้งสิ้น แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่ผู้เชื่อในพระเยซูเลยก็ตาม

พระกิตติคุณเรื่องราวของพระเยซูนั้น เชื่อถือได้หรือไม่?

นักประวัติศาสตร์ทั่วไป บันทึกข้อเท็จจริงทั่วๆไปของเรื่องราวชีวิตพระเยซู เท่านั้น แต่พวกที่อยู่ใกล้ชิดกับพระเยซูเขียนรายงานเรื่องราวที่มีรายละเอียด มากกว่านั้น ซึ่งก็ได้จากพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์จริงแต่ละเหตุการณ์นั่นเอง การบันทึกเหล่านี้ เราเรียกว่า พระกิตติคุณทั้งสี่ ซึ่งเป็นหนังสือสี่เล่มแรกของพระคัมภีร์ใหม่ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า หนังสือชีวประวัติของพระเยซูทั้งสี่เล่มนี้มีความถูกต้อง?

เมื่อนักประวัติศาสตร์ต้องการที่จะตัดสินว่าชีวประวัติอันใดมีความถูกต้องหรือไม่ พวกเขาถามคำถามนี้ว่า “มีการรายงานเรื่องราวรายละเอียดอย่างเดียวกัน เกี่ยวกับบุคคลผู้นี้ จากกี่แหล่ง?” เราจะอธิบายให้คุณทราบว่าการตัดสินเช่นนี้มีความถูกต้องอย่างไร ลองจินตนาการดูว่าคุณกำลังรวบรวมชีวประวัติของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ อยู่ คุณพบแหล่งข้อมูลหลายแหล่งที่บรรยายเกี่ยวกับครอบครัวของท่าน การทำงานในฐานะประธานาธิบดีของท่าน และเมื่อครั้งที่ท่านจัดการเรื่องของวิกฤตจรวดมิสไซล์ของคิวบา และข้อเท็จจริงอื่นๆที่ ถูกรายงานก็ค่อนข้างจะใกล้เคียงกันจากแหล่งข้อมูลเหล่านั้น แต่ถ้าเราเกิดพบชีวประวัติชิ้นหนึ่งของท่านเจเอฟเค ที่กล่าวว่า ท่านได้ทำงานเป็นบาทหลวงอยู่ที่อาฟริกาใต้ถึงสิบปีมาก่อน ในขณะที่ชีวประวัติจากแหล่งอื่นๆกล่าวว่า ท่านอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานั้น คุณจะคิดอย่างไรกับงานเขียนชิ้นนี้? นักประวัติศาสตร์ที่มีเหตุผลก็จะต้องยอมรับเรื่องราวจากหลายแหล่งที่รายงานเนื้อความไปในทิศทางเดียวกันอยู่แล้ว

เมื่อมาถึง เรื่องราวของพระเยซูชาวนาซาเร็ธ เราพบการเขียนชีวประวัติของพระองค์จากแหล่งที่มา ที่มีมากกว่าหนึ่งแหล่งหรือไม่? ใช่แล้ว แม้ว่าพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มไม่จำเป็นต้องครอบคลุมข้อมูลที่เหมือนกันทั้งหมดก็ตาม แต่พระกิตติคุณทั้งสี่ ได้เขียนเรื่องราวเดียวกันอย่างแน่นอน ลองมาดูการเปรียบเทียบข้างล่างนี้:

  มัทธิว มาระโก ลูกา ยอห์น
พระเยซูทรงถือกำเนิดจากหญิงพรหมจารี 1:18-25 - 1:27, 34 -
พระองค์ทรงบังเกิดที่บ้านเบธเลเฮ็ม 2:1 - 2:4 -
พระองค์ทรงอาศัยอยู่ที่เมืองนาซาเร็ธ 2:23 1:9, 24 2:51, 4:16 1:45, 46
พระองค์ทรงรับบัพติศมาโดยยอห์นผู้ให้บัพติศมา 3:1-15 1:4-9 3:1-22 -
พระองค์ทรงทำการอัศจรรย์ในการรักษาโรค 4:24 และข้ออื่นๆ 1:34 และข้ออื่นๆ 4:40 และข้ออื่นๆ 9:7
พระองค์ทรงดำเนินบนน้ำ 14:25 6:48 - 6:19
พระองค์ทรงเลี้ยงคนห้าพันคนด้วยขนมปังห้าก้อนกับ ปลาสองตัว 14:7 6:38 9:13 6:9
พระเยซูทรงสั่งสอนประชาชนทั่วไป 5:1 4:25, 7:28 9:11 18:20
พระองค์ทรงใช้เวลากับคนที่สังคมไม่ยอมรับ 9:10, 21:31 2:15, 16 5:29, 7:29 8:3
พระองค์ทรงโต้เถียงกับพวกผู้มีอิทธิพลทางศาสนา 15:7 7:6 12:56 8:1-58
พวกผู้มีอิทธิพลทางศาสนาวางแผนที่จะฆ่าพระองค์ 12:14 3:6 19:47 11:45-57
พวกเขาจับพระเยซูส่งให้ทางการโรม 27:1, 2 15:1 23:1 18:28
พระเยซูทรงถูกเฆี่ยนตี 27:26 15:15 - 19:1
พระองค์ทรงถูกตรึงที่กางเขน 27:26-50 15:22-37 23:33-46 19:16-30
พระองค์ทรงถูกฝังเอาไว้ในอุโมงค์ 27:57-61 15:43-47 23:50-55 19:38-42
พระเยซูทรงฟื้นชึ้นมาจากความตายและทรงปรากฎ แก่พวกสาวกของพระองค์ 28:1-20 16:1-20 24:1-53 20:1-31

พระกิตติคุณสองเล่มถูกเขียนขึ้นโดยอัครทูตมัทธิวและยอห์น ผู้ซึ่งรู้จักพระเยซูเป็นส่วนตัวและเดินทางร่วมงานกับพระองค์ตลอดเวลาสามปีนั้น ส่วนอีกสองเล่มถูกเขียนขึ้นโดยมาระโกและลูกา ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานใกล้ชิดกับพวกอัครทูต ผู้เขียนเหล่านี้เป็นพวกที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่พวกเขาบันทึกได้โดยตรง คริสตจักรในยุคแรกให้การยอมรับพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มนี้ เพราะว่าพวกเขาเห็นด้วยกับเรื่องราวที่ได้รับการบันทึกไว้ของพระเยซูซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้วในเวลานั้น

ผู้เขียนพระกิตติคุณทั้งสี่ แต่ละคนบันทึกเรื่องราวอย่างละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดหวังเมื่อมีการเขียนชีวประวัติของบุคคลจริงที่มีมากกว่าหนึ่งฉบับ พระกิตติคุณทั้งสี่มีวิธีการเขียนที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็เห็นด้วยกันในเรื่องของข้อเท็จจริง เรารู้ว่าผู้เขียน ไม่ได้แค่เขียนเรื่องที่เขาอยากจะเขียนขึ้นมาเองเท่านั้น เพราะพระกิตติคุณมีการบันทึกถึงชื่อของสถานที่ ที่มีอยู่จริง รายละเอียดทางด้านวัฒนธรรม และยังได้รับการยืนยันความถูกต้องจากนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีอีกด้วย

การบันทึกคำตรัสของพระเยซู มีอยู่หลายประเด็นทีเดียว ที่สามารถทำให้คริสตจักรในยุคแรกออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องเหล่านั้นได้ สิ่งนี้บ่งบอกได้ว่า ผู้เขียนพระกิตติคุณนั้นบันทึกเรื่องราวจริงอย่างตรงไปตรงมา ไม่ได้เขียนสิ่งที่บอกว่าเป็นคำตรัสของพระเยซู เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง

ถ้าหากคุณอยากจะดูตัวอย่างเรื่องราวที่ถูกนำเสนอไว้ จากหนังสือพระกิตติคุณเล่มหนึ่ง ให้คุณคลิกที่นี่

แล้วพระคัมภีร์ถูกเปลี่ยนแปลงหรือเกิดการบิดเบือน ไปตามกาลเวลาหรือไม่?

บางคนมีความคิดที่ว่า พระคัมภีร์ใหม่ได้รับการแปลมา“หลายครั้ง” เต็มที ทำให้ถูกบิดเบือนไปในขั้นตอนต่างๆของแปลนั้น ถ้าหากมี การแปลจากต้นฉบับที่ถูกแปลมาอีกทีหนึ่ง นั่นก็จะเป็นที่น่าสงสัย ว่าอาจมีการบิดเบือนเนื้อหาได้ แต่การแปลพระคัมภีร์ใหม่นั้น ถูกแปลจากแหล่งของงานเขียนดั้งเดิมในภาษากรีก ฮีบรูและ อารเมค ซึ่งงานเขียนเหล่านั้นก็มาจากสำเนาต้นฉบับโบราณเป็น พันๆฉบับเลยทีเดียว

ยกตัวอย่างเช่น พระคัมภีร์ใหม่ที่เรามีในปัจจุบันนี้มีความถูกต้องตามรูปแบบงานเขียนในฉบับดั้งเดิมเพราะเหตุผลดังต่อไปนี้
     1. เรามีสำเนาของต้นฉบับจำนวนมาก เรามีสำเนากว่า 24000 ฉบับ
     2. สำเนาเหล่านั้น มีความสอดคล้องกัน แบบคำต่อคำ ถึง 99.5% ของทั้งหมด
     3. วันเวลาที่มีการคัดลอกสำเนาต้นฉบับเหล่านี้ก็ใกล้เคียงกันกับเวลาที่เขียนต้นฉบับดั้งเดิมของมัน(ให้ดูที่ลิงก์ตอนท้ายของบทความนี้)

เมื่อมีการเปรียบเทียบเนื้อหาของสำเนาต้นฉบับชิ้นหนึ่งกับอีกชิ้นหนึ่ง ก็พบว่ามีความเหมือนกันอย่างน่าอัศจรรย์ จริงอยู่ที่บางครั้งการสะกดคำอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง หรือคำบางคำอาจจะอยู่กันคนละที่บ้าง แต่นั่นก็เป็นส่วนเล็กมากที่แทบจะไม่ส่งผลกับเนื้อหาส่วนใหญ่เลย เมื่อพิจารณาถึงการเรียงลำดับของคำบรูซ เอ็ม เม็ทซเจอร์ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ ของสถาบันทางศาสนศาสตร์แห่งพรินซตัน อธิบายเช่นนี้ว่า “การที่จะพูดในว่า Dog bites man(หมากัดคน) กับ Man bites dog(คนกัดหมา) นั้นมันมีความแตกต่างกันอย่างมากทีเดียว ในภาษาอังกฤษ การเรียงตำแหน่งของคำในประโยคนั้นมีความสำคัญอย่างมาก แต่ในภาษากรีกไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีคำหนึ่งในประโยคที่เป็นประธานของประโยคนั้นเสมอแม้ว่าจะเรียงอยู่ในตำแหน่งใดของประโยคนั้น ก็ตาม”5

ดร. ระวี แซคคาเรียส ศาสตราจารย์รับเชิญที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ก็ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ในความเป็นจริง พระคัมภีร์ใหม่ สามารถที่จะรับการยืนยันได้อย่างง่ายดายว่า เป็นงานเขียนของยุคโบราณที่ดีที่สุด เมื่อมองดูในแง่ของสำเนาต้นฉบับที่มีอยู่มากมาย ช่วงเวลาระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้น และเอกสารที่หลากหลายมากมายเช่นนี้สามารถที่จะใช้เพื่อทำให้งานเขียนนี้ดำรงอยู่หรือทำให้มันหมดความน่าเชื่อถือก็ได้ ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับต้นฉบับโบราณ(ของงานเขียนอื่น)ชิ้นไหนๆเลยที่จะเทียบได้กับความน่าเชื่อ ถือของพระคัมภีร์ใหม่ซึ่งมีสำเนาต้นฉบับดั้งเดิมมากมายที่มีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างจากฉบับที่เรามีในปัจจุบันนี้”6

พระคัมภีร์ใหม่เป็นงานเขียนที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับมนุษยชาติ ความถูกต้องในเนื้อหาของมันแน่นอนมากกว่างานเขียนของเพลโตหรือ อีเลียตของโฮเมอร์ เสียอีก

สำหรับพระคัมภีร์เดิมเองก็ได้รับการเก็บรักษาอย่างน่าทึ่งเช่นเดียวกัน ฉบับแปลปัจจุบันของเราก็ได้รับการยืนยัน โดยสำเนาต้นฉบับยุคโบราณซึ่งมีจำนวนมากมายทั้งภาษาฮีบรูและภาษากรีก รวมทั้งหนังสือม้วนแห่งทะเลตาย ซึ่งถูกค้นพบเมื่อช่วงกลางศตวรรษที่20 ด้วย หนังสือม้วนแห่งทะเลตายที่ว่านี้มีส่วนของงานเขียนเกือบทั้งหมดของพระคัมภีร์เดิม (พระคัมภีร์เดิมประกอบด้วยหนังสือทั้งหมด 39 เล่ม-ผู้แปล)ที่มีความเก่าแก่ที่สุด เริ่มจาก150 ปีก่อนคริสตกาลนั่นเลยทีเดียว ความเหมือนกันของสำเนางานเขียนที่ถูกคัดลอกด้วยมือ 1000 ปีหลังจากสำเนาต้นฉบับหนังสือม้วนแห่งทะเลตายนั้น พิสูจน์ให้เราเห็นถึงความระมัดระวังอย่างมากของอาลักษณ์ชาวฮีบรูผู้คัดลอกพระวจนะแห่งพระเจ้าของพวกเขา

ถ้าคุณอยากจะดูการเปรียบเทียบระหว่างพระคัมภีร์ใหม่กับงานเขียนยุคโบราณชิ้นอื่นๆให้คุณ คลิกที่นี่

แล้วโบราณคดีสนับสนุนความน่าเชื่อถือของพระคัมภีร์หรือไม่?

โบราณคดีไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าพระคัมภีร์เป็นพระคำของ พระเจ้าที่ถูกเขียนถึงมนุษย์หรือไม่ อย่างไรก็ตามโบราณคดี สามารถยืนยันด้วยหลักฐานถึงความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ ของพระคัมภีร์ได้ นักโบราณคดีได้ทำการค้นพบอยู่อย่างต่อเนื่อง ถึงชื่อของเจ้าหน้าที่รัฐ กษัตริย์ เมืองต่างๆ และเทศกาลต่างๆ ที่ถูกบันทึกเอาไว้ในพระคัมภีร์ ซึ่งบางครั้งพวกนักโบราณคดีเอง ดูจะไม่คิดว่าผู้คนหรือสถานที่ที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์นั้นมีอยู่จริงๆ ตัวอย่างเช่น ในหนังสือพระกิตติคุณยอห์นกล่าวถึงพระเยซูว่าทรง รักษาคนง่อยคนหนึ่ง ที่ข้างๆสระน้ำเบธธาซา การบันทึกนั้นยังบอกเอาไว้ว่ามีศาลาห้าหลัง(ทางคนเดิน)ซึ่งนำไปสู่สระน้ำนั้น ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายไม่คิดว่าสระน้ำที่ว่านั้นมีอยู่จริง จนกระทั่งนักโบราณคดีได้ค้นพบสระดังกล่าวนี้ซึ่งอยู่ลึกจากพื้นดินลงไปสี่สิบฟุตและมีศาลาห้าหลังอยู่ใกล้สระนั้นจริงๆ7

พระคัมภีร์มีรายละเอียดทางประวัติศาสตร์มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้น ถึงแม้ว่าไม่ใช่ทุกสิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวถึงนั้นจะถูกค้นพบทางโบราณคดีทั้งหมดในตอนนี้ แต่สิ่งที่ถูกค้นพบแล้วก็ไม่มีชิ้นใดที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ พระคัมภีร์บันทึกไว้ถึงสิ่งนั้นสักชิ้นเดียว8

ในทางตรงกันข้ามผู้สื่อข่าวชื่อ ลี สโตรเบล ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับหนังสือของมอร์มอน (Book of Mormon) ไว้ดังนี้ว่า “โบราณคดีไม่สามารถพิสูจน์การกล่าวอ้างในหนังสือของมอร์มอนได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกี่ยวกับเหตุการณ์ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้วในอเมริกา ผมจำได้ว่าได้เขียนจดหมายไปที่สถาบันสมิธโซเนียน ขอหลักฐานที่สนับสนุนการกล่าวอ้างในงานเขียนของลัทธิมอร์มอน ก็ได้รับคำตอบอย่างหนักแน่นชัดเจนมาว่า สำหรับหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น “ไม่พบว่ามีการเชื่อมต่อกันโดยตรงระหว่างหลักฐานทางโบราณคดีของโลกใหม่(อเมริกา)และสิ่งสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือของมอร์มอน”9

สถานที่ยุคโบราณหลายแห่งที่ท่านลูกาได้กล่าวถึงในหนังสือกิจการของอัครทูต ซึ่งอยู่ในพระคัมภีร์ใหม่ ถูกระบุโดยการค้นพบทางโบราณคดีแล้ว “ในหนังสือกิจการฯ ลูกาได้เขียนชื่อประเทศ 32ประเทศ ชื่อเมือง 54 เมืองและชื่อของเกาะต่างๆ 9 เกาะ โดยที่ไม่มีข้อผิดพลาดเลย”10

โบราณคดียังปฏิเสธทฤษฎีที่ดูเลื่อนลอยต่างๆเกี่ยวกับพระคัมภีร์ด้วย ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีที่สอนในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในทุกวันนี้ที่กล่าวว่า โมเสสอาจจะไม่ได้เป็นผู้เขียนพระคัมภีร์ในหมวดเบญจบรรณ(ห้าเล่มแรกในพันธสัญญาเดิม คือปฐมกาล อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี เฉลยธรรมบัญญัติ) เพราะว่าการเขียนยังไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นในสมัยของโมเสส หลังจากนั้นนักโบราณคดีค้นพบแบลคสติล (Black Stele) “มันมีอักขระรูปลิ่มและถูกบันทึกรายละเอียด เกี่ยวกับกฎหมายฮัมมูราบี กฎหมายนี้หลังจากโมเสสหรือก่อนโมเสส? มันมาก่อนยุคโมเซอิค(ยุคของโมเสส) ไม่ใช่แค่นั้นแต่เป็นยุคก่อนอับราฮัม ( คือ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล)เสียอีก กฎหมายที่ว่านี้ถูกเขียนขึ้นก่อนงานเขียนของโมเสสอย่างน้อยก็สามร้อยปี”11

การค้นพบทางโบราณคดีครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งยืนยันถึงการพบตัวอักษรรุ่นเริ่มแรกในแผ่นจารึกเอบลา(Ebla Tablets) ที่ทางตอนเหนือของประเทศซีเรียในปีค.ศ.1974 แผ่นดินเผาทั้ง14,000 ชิ้นนี้ คิดว่าน่าจะมาจากยุคประมาณ 2,300 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งเป็นสองสามร้อยปีก่อนอับราฮัม12 บนแผ่นดินเผาดังกล่าวบรรยายถึงวัฒนธรรมของท้องถิ่น ในแบบที่คล้ายคลึงกัน กับสิ่งที่ถูกบันทึกเอาไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่12-50 (ในพระคัมภีร์เดิม)

โบราณคดีมีการยืนยันความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ของพระคัมภีร์อย่างต่อเนื่อง

ถ้าหากคุณอยากจะศึกษาต่อไปให้ คลิกที่นี่ เพื่อที่จะดูตารางเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกค้นพบทางโบราณคดีครั้งสำคัญๆ

มีสิ่งที่ขัดแย้งกันปรากฎอยู่ในพระคัมภีร์หรือไม่?

มีคนบางคนที่กล่าวว่าพระคัมภีร์มีสิ่งที่ไม่ตรงกันอยู่มากมาย คำกล่าวนี้ไม่เป็นความจริงเลย จำนวนของสิ่งที่ดูไม่ตรงกัน นั้นมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดและขอบข่ายที่ กว้างขวางของพระคัมภีร์แล้ว สิ่งไม่ตรงกันที่ปรากฎให้เห็น เป็นลักษณะของสิ่งที่ดูแปลกออกไป มากกว่าที่จะเป็นสิ่งที่ นำมาซึ่งความเสียหายของเนื้อหาทั้งหมด มันไม่ได้มีความ เกี่ยวข้องอะไรในเรื่องของเหตุการณ์สำคัญที่ปรากฎในพระ คัมภีร์หรือในเรื่องของความเชื่อเลยแม้แต่นิดเดียว

นี่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่ถูกเรียกว่าสิ่งที่ไม่ตรงกันซึ่งปรากฎ อยู่ในพระคัมภีร์ เมื่อปีลาตสั่งให้ติดป้ายเอาไว้เหนือไม้กางเขน ที่ตรึงพระเยซู พระกิตติคุณสามเล่มที่บันทึกไว้ว่าสิ่งที่เขียนอยู่บนป้ายนั้น เขียนว่าอย่างไร
     ในหนังสือมัทธิว บันทึกไว้ว่า “นี่คือเยซู กษัตริย์ของพวกยิว”
     ในหนังสือลูกา บันทึกไว้ว่า “กษัตริย์ของพวกยิว”
     ในหนังสือยอห์น บันทึกว่า “เยซูชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของพวกยิว”

คำที่เขียนต่างกัน ดังนั้นจึงปรากฎให้เห็นว่ามันไม่ตรงกัน สิ่งที่น่าทึ่งก็คือผู้เขียนทั้งสามคนข้างต้นได้บรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด คือ พระเยซูทรงถูกตรึงที่กางเขน พวกเขาเห็นด้วยกันตรงนี้ พวกเขายังได้บรรยายต่อไปว่า ป้ายถูกนำมาติดไว้ที่ไม้กางเขน และความหมายของสิ่งที่เขียนอยู่บนป้ายนั้นมีความหมายอย่างเดียวกันในการบันทึกของผู้เขียนทั้งสามนั้น

แล้วถ้าเกี่ยวกับเรื่องคำที่ถูกต้องล่ะ? ในภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมที่ใช้ในการเขียนพระคัมภีร์ใหม่ ไม่ได้ใช้เครื่องหมายคำพูดเมื่อมีการอ้างอิงถึงข้อความหรือคำพูดใดๆดังเช่นที่เราทำในปัจจุบันนี้ ผู้เขียนพระกิตติคุณใช้การอ้างอิงที่ไม่ได้หยิบยกมาแบบตรงๆ ซึ่งทำให้มองเห็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในข้อความของพระกิตติคุณตอนนี้

และนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่ปรากฎว่าเขียนไม่ตรงกันในหนังสือพระกิตติคุณ คือที่ว่า พระเยซูทรงถูกฝังอยู่ในอุโมงค์สองคืนหรือสามคืนก่อนการฟื้นคืนพระชนม์ของพระองค์? พระเยซูได้ตรัสถึงสิ่งนี้ก่อนหน้าที่จะมีการตรึงที่กางเขนว่า “ด้วยว่า โยนาห์ได้อยู่ในท้องปลามหึมาสามวันสามคืนฉันใด บุตรมนุษย์จะอยู่ในท้องแผ่นดิน สามวันสามคืนฉันนั้น” (มัทธิว12:40) มาระโกได้บันทึกถึงสิ่งที่พระเยซูตรัสอีกครั้งหนึ่งว่า “นี่แน่ะ เราทั้งหลายจะขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และเขาจะมอบบุตรมนุษย์ไว้กับพวกมหาปุโรหิต และพวกธรรมาจารย์และเขาเหล่านั้น จะปรับโทษท่านถึงตาย และจะมอบท่านไว้กับคนต่างชาติ คนต่างชาตินั้นจะเยาะเย้ยท่าน ถ่มน้ำลายรดท่านและจะเฆี่ยนตีท่าน และจะฆ่าท่านเสีย และวันที่สามท่านจึงจะเป็นขึ้นมาใหม่” (มาระโก10:33-34)

พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์ในวันศุกร์และการฟื้นคืนพระชนม์ได้ถูกค้นพบในวันอาทิตย์ แล้วถ้าเช่นนั้นจะเป็นสามวันสามคืนในอุโมงค์ได้อย่างไร? สิ่งนี้เป็นการตีความหมายของพวกยิวจากคำพูดของพระเยซู ในช่วงเวลานั้นจะนับช่วงใดของวันก็ได้ เป็นเต็มวันและเต็มคืนของวันนั้นๆ ดังนั้น วันศุกร์ วันเสาร์และวันอาทิตย์ ก็จะถูกนับเป็น สามวันและสามคืนตามธรรมเนียมการนับเวลาในของสมัยพระเยซู เราใช้คำพูดและหมายความในลักษณะเดียวกันนี้ด้วยในปัจจุบัน เช่นถ้าหากมีคนพูดว่า “ฉันใช้เวลาทั้งวันในการเดินช้อปปิ้ง” เราเองก็เข้าใจว่าคนๆนั้นไม่ได้หมายความว่า เธอใช้เวลา 24 ชั่วโมงในการเดินช้อปปิ้งจริงๆ

สิ่งที่บอกว่าไม่ตรงกันซึ่งปรากฎอยู่ในพระคัมภีร์ใหม่ ทุกจุดที่มีการโต้แย้งขึ้นมาก็จะเป็นไปในลักษณะนี้ทั้งนั้น เกือบทั้งหมดจะสามารถอธิบายได้ด้วยการตรวจสอบจากเนื้อความของจุดที่มีการโต้แย้งเอง หรือโดยผ่านทางการศึกษาถึงเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ในสมัยนั้นๆ

ใครเห็นผู้เขียนพระคัมภีรใหม่? หนังสือบางเล่มที่ถูกเขียนขึ้นในสมัยนั้น เช่น อพอคครีฟา หรือพระกิตติคุณฉบับของท่านยูดาส หรือพระกิตติคุณฉบับท่านโธมัส ทำไมจึงไม่ได้รับการรวมรวมเข้ามาด้วย?

เรามีเหตุผลที่หนักแน่นชัดเจนว่า ทำไมเราจึงวางใจได้ว่า พระคัมภีร์ใหม่ที่เรามีอยู่ในปัจจุบันนี้มีความถูกต้องเชื่อ ถือได้อย่างแท้จริง คริสตจักยอมรับพระคัมภีร์ใหม่เกือบ จะทันทีหลังจากที่สิ่งนี้ถูกเขียนขึ้น ผู้เขียนของหนังสือ ในพระคัมภีร์ใหม่ทั้งสิ้น คือผู้ที่มีส่วนร่วมอยู่ในชีวิตของ พระเยซู หรือเป็นพวกที่ใกล้ชิดกับเหล่าสาวกที่ติดตาม พระองค์ เหล่าสาวกกลุ่มนี้คือกลุ่มคนที่พระเยซูทรง ไว้วางใจให้อยู่ในฐานะของผู้นำคริสตจักรในระยะเริ่มแรก ผู้เขียนพระกิตติคุณมัทธิวและยอห์น ทั้งสองนี้เป็นสาวกที่ ใกล้ชิดของพระเยซูเอง ส่วนมาระโกกับลูกา ก็เป็นเพื่อนผู้ ร่วมงานกับพวกอัครทูต ซึ่งเขาทั้งสองมีช่องทางที่จะสืบ เสาะเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของพระเยซูได้จากพวกอัครทูต เหล่านั้น

ผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ท่านอื่นๆเอง ก็มีช่องทางที่เข้าถึงพระเยซูได้โดยตรงเช่นกัน กล่าวคือ ท่านยากอบและท่านยูดาห์ เป็นน้องชายร่วมบิดาของพระเยซูผู้ซึ่งในระยะแรกไม่ได้เชื่อในพระองค์ ท่านเปโตรคือหนึ่งในอัครทูต 12คน ท่านเปาโลเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ที่เกลียดชังคริสเตียน แต่ได้กลายมาเป็นอัครทูตภายหลังจากที่ท่านได้เห็นนิมิตของพระเยซูคริสต์ และก็ยังมีการติดต่อสื่อสารกับอัครทูตคนอื่นๆด้วย

เนื้อหาของพระคัมภีร์ใหม่เป็นไปในทางเดียวกันกับสิ่งที่พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆเป็นพันๆคนได้ประสบด้วยตนเอง เมื่อหนังสือเล่มอื่นๆถูกเขียนขึ้นมาหลังจากนั้นเป็นร้อยปี (เช่น หนังสือพระกิตติคุณของท่านยูดาสถูกเขียนขึ้นโดยพวกนอสติกในราวปี ค.ศ. 130-170 ซึ่งตัวท่านยูดาสได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้นานแล้ว) จึงไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับคริสตจักรที่จะมองเห็นว่าหนังสือเหล่านี้เป็นเอกสารที่ปลอมแปลงขึ้นมา หนังสือพระกิตติคุณของท่านโธมัส นั้นถูกเขียนขึ้นในราวปีค.ศ.140 ก็เป็นตัวอย่างของงานเขียนที่มีความผิดพลาดและใช้ชื่อของอัครทูตว่าเป็นผู้เขียน หนังสือเหล่านี้ และงานเขียนพระกิตติคุณของพวกนอสติกชิ้นอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ขัดแย้งกับคำสอนซึ่งเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้วของพระเยซู และคำสอนจากพระคัมภีร์เดิม และบ่อยครั้งทีเดียวที่มีการกล่าวอ้างถึงประวัติศาสตร์และสถานที่ผิดพลาดไป13

ในปีค.ศ.367 แอทเธนาซีอัส ได้รวบรวมรายชื่อของหนังสือพระคัมภีร์ใหม่ 27 เล่ม (เหมือนกับรายชื่อที่เรามีอยู่ในปัจจุบันนี้) หลังจากนั้นไม่นานก็มี เจอโรมและออกัสติน ที่ได้เผยแพร่รายชื่อของหนังสือพระคัมภีร์ใหม่ที่เหมือน กันนี้ออกมาด้วย อย่างไรก็ตามรายชื่อหนังสือดังกล่าวก็ไม่ใช่สำหรับคริสเตียนส่วนใหญ่ คริสตจักรในสมัยนั้น รู้จักและใช้หนังสือตามรายชื่อเหล่านั้นมากันตั้งแต่ศตวรรษแรกหลังจากพระเยซูเสด็จไปแล้ว แต่เมื่อคริสตจักรได้เติบโตขึ้นและขยายตัวเกินดินแดนของพวกที่พูดภาษากรีกแล้ว และมีความจำเป็นต้องแปลพระคัมภีร์ใหม่เป็นภาษาอื่นๆ อีกทั้งมีพวกความเชื่อผิดกลุ่มอื่นๆที่ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ พร้อมกับหนังสือศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาเขียนขึ้นมาแข่งขัน จึงจำเป็นว่าจะต้องมีรายชื่อพระคัมภีร์ใหม่ที่เจาะจงกันเสียที

ทำไมต้องใช้เวลาถึง 30-60 ปี กว่าที่พระกิตติคุณในพระคัมภีร์ใหม่จะถูกเขียนขึ้นมา?

เหตุผลหลัก ที่ไม่ได้มีการเขียนพระกิตติคุณขึ้นทันที หลังจากที่พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์และทรงฟื้นคืน พระชนม์ก็เพราะว่า ไม่มีความจำเป็นที่ชัดเจนว่า ต้องเขียนสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เริ่มแรกพระกิตติคุณถูกแผ่แพร่ออกไปโดยคำพูด แบบปากต่อปาก ภายในกรุงเยรูซาเล็มเอง จึงไม่ จำเป็นต้องมีการเขียนถึงเรื่องราวชีวิตของพระเยซู เพราะว่าคนเหล่านั้นที่อยู่ในเขตกรุงเยรูซาเล็ม ก็ได้รู้ได้เห็นด้วยตัวเองถึงชีวิตของพระเยซูและ รับรู้อย่างดีถึงพระราชกิจของพระองค์ด้วย14

อย่างไรก็ตามเมื่อพระกิตติคุณได้แผ่แพร่ออกไป นอกเขตเยรูซาเล็มแล้ว และพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหลายก็ไม่ได้อยู่ในเขตใกล้ๆ ที่จะสามารถซักถามได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ความรู้ถึงเรื่องราวชีวิตและพระราชกิจของพระเยซู ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้สรุปว่าช่วงเวลาที่มีการเขียนหนังสือพระกิตติคุณนั้นคงในราว 30-60 ปีหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู

ท่านลูกาช่วยให้มุมมองกับเราเล็กน้อยเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องมีการเขียน ดูจากการเริ่มเรื่องของท่านในหนังสือพระกิตติคุณลูกา ท่านมีเหตุผลดังนี้ “ท่านเธโอฟีลัส ที่เคารพอย่างสูง ท่านทราบแล้วว่า มีหลายคนได้อุตส่าห์เรียบเรียงเรื่องราวเหล่านั้น ซึ่งสำเร็จแล้วในท่ามกลางเราทั้งหลาย ตามที่เขาผู้ได้เห็นกับตาเองตั้งแต่ต้น และเป็นผู้ประกาศพระวจนะนั้น ได้แสดงให้เรารู้ เหตุฉะนั้นเนื่องจากข้าพเจ้าเองได้สืบเสาะถ้วนถี่ตั้งแต่ต้นมา จึงเห็นดีด้วยที่จะเรียบเรียงเรื่องตามลำดับเพื่อประโยชน์แก่ท่าน”15

ท่านยอห์นเองก็ได้ให้เหตุผลในการเขียนพระกิตติคุณของท่านดังนี้ว่า “พระเยซูได้ทรงกระทำหมายสำคัญอื่นๆอีกหลายประการต่อหน้าสาวกเหล่านั้นซึ่งไม่ได้บันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้ แต่การที่ได้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์พระบุตรของพระเจ้าและเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิต โดยพระนามของพระองค์”16

คุณเคยอ่านเรื่องราวอะไรจากพระคัมภีร์ใหม่บ้างหรือยัง? ถ้าหากอยากจะอ่านตัวอย่างข้อเขียนจากพระกิตติคุณยอห์น ให้คุณ คลิกที่นี่

หากคุณต้องการทราบเกี่ยวกับพระเยซูมากขึ้น บทความนี้จะช่วยให้ข้อสรุปที่ดีเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ ไปที่ เชื่ออย่างมีเหตุผล

ถ้าหากพระเยซูได้ทรงกระทำและตรัสตามที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือพระกิตติคุณจริงๆ มันจะมีผลอะไรหรือไม่?

มีแน่นอน เพราะความเชื่อ ถ้าจะให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ตั้งอยู่บน ความเป็นจริง นี่คือเหตุผลว่าทำไม ถ้าคุณจะเดิน ทางไปกรุงลอนดอนโดยทางเครื่องบิน คุณเองคง ต้องมีความเชื่อว่าเครื่องบินที่คุณจะโดยสารไปด้วยนั้น มีน้ำมันเพียงพอและมีสภาพเครื่องยนต์ที่ไว้ใจได้ นักบินเป็นคนที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้ว และเป็น เครื่องที่ไม่มีผู้ก่อการร้ายโดยสารไปด้วย ความเชื่อ ของคุณ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้คุณไปถึงกรุงลอนดอนได้ ความเชื่อนั้นทำให้คุณขึ้นไปบนเครื่องบิน แต่สิ่งที่นำ คุณไปถึงที่หมายได้ก็คือความไว้วางใจได้ของตัวเครื่องบิน คนขับที่ได้รับการฝึกฝน และปัจจัยอื่นๆเป็นต้น คุณ สามารถที่จะพึ่งพาในประสบการณ์การโดยสาร เครื่องบินของคุณในอดีตได้ แต่ประสบการณ์ใน แง่บวกของคุณนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เครื่องบิน บินถึงกรุงลอนดอน สิ่งสำคัญก็คือสิ่งที่เราเชื่อวางใจนั้น เชื่อถือได้หรือไม่?

พระคัมภีร์ใหม่นั้นถูกต้องแม่นยำในการเสนอเรื่องราวของพระเยซูหรือไม่? แน่นอนว่า เราสามารถเชื่อถือพระคัมภีร์ใหม่ได้ เพราะว่ามีข้อเท็จจริงที่สนับสนุนความถูกต้องอย่างมากมาย บทความนี้ หยิบยกเรื่องความน่าเชื่อถือจากสิ่งต่อไปนี้คือ ข้อสนับสนุนทางประวัติศาสตร์ ความเห็นพ้องทางโบราณคดีในความถูกต้อง พระกิตติคุณทั้งสี่มีความคล้ายคลึงกันทางเนื้อหา การเก็บรักษาสำเนาของงานเขียนที่น่าทึ่ง การแปลที่ถูกต้องเหนือชั้น จากสิ่งเหล่านี้ให้รากฐานที่มั่นคง ในการเชื่อสิ่งที่เราอ่านพบในพระคัมภีร์ใหม่ ที่ว่า พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า ทรงรับเอาความผิดบาปของเราแทนเรา และที่พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย

กรุณาส่งอีเมลหาเราถ้าหากคุณมีคำถามมากกว่านี้

 วิธีที่จะเริ่มต้นมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า
 ผม มีคำถาม หรือ ความคิดเห็น

(1) จอช แมคโดเวลล์, The evidence that Demands a Verdicts (สำนักพิมพ์โธมัส เนลสัน ปี1999) หน้า 55 (2) Tacitus A,15.44 (3) Willkins Michael J. & Moreland J.P, Jesus Under Fire (Zondervan Publishing House,1995) หน้า 40 (4) Ibid. (5) Strobel Lee, The Case for Christ (Zondervan Publishing House,1998) หน้า 83 (6) Zacharias Ravi, Can Man live Without God? (Word Publishing,1994) หน้า162 (7) Strobel หน้า 132 (8) นักโบราณคดีที่มีชื่อเสียงชาวยิว ชื่อเนลสัน กลูเอ็ค เขียนเอาไว้ว่า “น่าจะกล่าวได้ว่า ยังไม่มีการค้นพบทางโบราณคดีชิ้นใดที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ถูกอ้างถึงในพระคัมภีร์เลย” อ้างอิงโดย จอช แม็คโดเวลล์จากหนังสือชื่อ The New Evidence That Demands a Verdicts (Thomas Nelson Publishers,1999)หน้า61 (9) Strobel หน้า143-144 (10) Geisler, Norman L., Baker Encyclopedia of Christian Apologetics (Grand Rapids:1998) (11) จอช แมคโดเวลล์, The Evidence that Demands a Verdicts, 1972 หน้า 19 (12) Pettinato, Glovani, The Achives of Ebla: an empire inscribed in clay (Garden City, NY:Doubleday,1981) (13) Bruce, F.F., The Book and The Parchments: How We Got our English Bible (Flemming H Revell CO.,1950) หน้า 103 (14) ดูกิจการของอัครทูต 2:22,3:13,4:13,5:30,5:42,6:14 เป็นต้น (15) ลูกา1:1-3 (16) ยอห์น20:30-31


แชร์ต่อกับคนอื่น:
WhatsApp Share Facebook Share Twitter Share Share by Email More